วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

28 กุมภาพันธ์ 2556 วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




หน่วยส้ม
วันศุกร์   ประโยชน์ของส้ม
      ทบทวนเด็กๆจากที่เรียนเองส้มมาทั้งอาทิตย์โดยการใช้คำถามต่างๆ  จาก นั้นให้เข้าสู่เนื้อหาประโยชน์ของส้มโดยการ เล่านิทาน ที่เกี่ยวกับส้มให้เด็กๆฟัง หลังจากที่เล่านิทานเสดแล้วให้เด็กๆแสดงความคิกเห็นเกี่ยวกับส้มหรือเกี่ยว กับนิทานที่เด็กๆได้ฟัง

        ประโยชน์ของส้ม  มีดังนี้
1. ส้มซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินซี ที่ช่วยทำให้ผิวสวยกระจ่างใส .. ส้ม มีคอลลาเจน ช่วยซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น ไม่แห้งแตก และช่วยสมานแผลหลังผ่าตัด แผลไฟไหม้ ให้หายเร็ว และแผลเรียบเนียนขึ้น
2. ส้ม ให้แคลเซียมและวิตามินดี แก่ร่างกาย มากพอๆ กับนม และแคลเซียมจะไปเสริมสร้างกระดูก
3. ส้ม มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันการอักเสบ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และป้องกันเลือดจับตัวเป็น
4. เปลือกของ ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอล ปรับระดับน้ำตาลในเลือด และกระตุ้นการกรองสารพิษของตับ



วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

21 กุมภาพันธ์ 2556 วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สรุปงานวิจัย
ชื่องานวิจัย การศึกษาแบบการคิดและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย แน่งน้อย  แจ้งศิริกุล
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เด็กปฐมวัยแต่ละระดับ มีแบบการคิดแบบใด
2. เด็กปฐมวัยมีอายุต่างกัน มีแบบการคิดต่างกันหรือไม่
3. เด็กปฐมวัยที่มีเพศต่างกัน มีแบบการคิดแต่ละแบบต่างกันหรือไม่
4. เด็กปฐมวัยที่มีความคิดต่างกัน  มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่างกันหรือไม่
5.เด็กปฐมวัยที่มีอายุต่างกัน  มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่างกันหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย
นักเรียนซึ้งกำลังศึกษาอยู่รัดับชั้น อนุบาล 1 และ อนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม จำนวน 120 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ คือ ระดับอายุ เพศ
ตัวแปรตาม คือ การคิดแบบไม่ขึ้นอยู่กับสภาพรอบข้าง ความสามารถในการแก้ปัยหาทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้
1.แบบทดสอบแบบการคิด
2.แบบทดสอบการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
สรุปผลงานวิจัย
1.เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี และ 5-6 ปี มีแบบการคิดแบบไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้างมากกว่าแบบขึ้นกับสภาพรอบข้าง
2.เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี และ 5-6 ปี มีแบบการคิดแบบไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเด็กอายุ 5-6 ปี มีแบบการคิดแบบไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้างมากกว่า เด็กอายุ 4-5 ปี
3.เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี และ 5-6 ปี มีแบบการคิดแบบไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยเด็กอายุ 4-5 ปี มีแบบการคิดแบบขึ้นกับสภาพรอบข้างมากกว่าเด็กอายุ 5-6 ปี
4.เด็กปฐมวัยชายและหญิงมีการคิดแบบไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้างและแบบขึ้นกับสภาพรอบข้าง ไม่ต่างกัน
5.เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี กับ 5-6 ปี มีความสามารถในการแก้ปัยหาทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสคัยที่ 0.1 โดยเด็กอายุ 5-6 ปี มีความแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเด็กอายุ 4-5 ปี
การนำไปใช้
จากการอ่านงานวิจัยและสรุปผลแล้ว เราสามารถนำงานวิจัยที่เราศึกษานี้ไปใช้ได้ เราสามารถนำผลการวิเคราะห์ของการวิจัยนี้ไปช่วยปลูกฝังให้เด็กนักเรียนรู้จักคิด และแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาการที่ดีและสมบูรณ์ของเด็ก และงานวิจัยนี้ยังเป็นแนวทางในการสอนให้กับผู้อ่านได้ไปจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภายภาคหน้าได้ งานวิจัยนี้จะส่งเสริมและเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาของเด็กด้วย